ประวัติและความเป็นมาของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย
สำนักงานสภามหาวิทยาลัยได้เริ่มต้นและพัฒนามาจากงานประชุมและพิธีการ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี ให้จัดตั้งเป็น “งาน” ในกองกลาง เพื่อรับผิดชอบงานเลขานุการของที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยและที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเป็นภารกิจหลัก
ในปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดตั้ง “สำนักงานสภามหาวิทยาลัย” ขึ้น โดยให้มีฐานะเทียบเท่ากอง มีภาระหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประชุม การสรรหาและแต่งตั้ง และประสานงานคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย ขึ้นตรงต่อสำนักงานอธิการบดีและผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นผู้บริหารสำนักงาน โดยวิธีการย้ายบุคลากรจาก “งานประชุมและพิธีการ” กองกลาง สำนักงานอธิการบดีและบุคลากรจาก “กองแผนงาน” มาปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน และได้แบ่งหน่วยงานภายในเป็น 4 งาน คือ งานธุรการ งานจัดประชุมและประสานงาน งานเลขานุการคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง
และงานประสานงานคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยและพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ในปี 2558 สภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 207 (5/2558) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2558 ให้ปรับโครงสร้างส่วนงานภายในสำนักงานอธิการบดี โดยสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมีฐานะเทียบเท่ากองดังเดิมแต่ยุบงานในโครงสร้างจาก 4 งาน เหลือ 2 งาน คือ งานประชุม งานยุทธศาสตร์และการพัฒนา
ในปี 2561 มหาวิทยาลัยได้ปรับโครงสร้างส่วนงานภายในสำนักงานอธิการบดี และยุบสำนักงานสภามหาวิทยาลัยไปอยู่ภายใต้สังกัดกองกลาง “งานกิจการสภามหาวิทยาลัย”
ในปี 2564 สภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 284 (5/2564) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564 ได้เห็นชอบการจัดตั้งสำนักงานสภามหาวิทยาลัยให้มีฐานะเทียบเท่าคณะ มีหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย และให้แบ่งส่วนราชการเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัย ฝ่ายตรวจสอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
ในปี 2567 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเสนอเพื่อขอทบทวนการปรับโครงสร้างของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย โดยสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่
327 (8/2567) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2567 ประกอบกับสภามหาวิทยาลัยในการประชุม ครั้งที่ 330 (11/2567) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2567 มีมติเห็นชอบให้สำนักงานสภามหาวิทยาลัย มีฐานะเทียบเท่าคณะ เพื่อให้มีการทำงานที่มีคล่องตัวและมีอิสระ สามารถเชื่อมโยงกับฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
และคณะกรรมการธรรมาภิบาลและจริยธรรม โดยกำหนดให้มีการประชุมและทำงานร่วมกันของคณะกรรมการทั้ง
3 ชุด ตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา โดยให้สำนักงานสภามหาวิทยาลัย แบ่งส่วนราชการเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้
ในปี 2567 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเสนอเพื่อขอทบทวนการปรับโครงสร้างของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย โดยสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่
327 (8/2567) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2567 ประกอบกับสภามหาวิทยาลัยในการประชุม ครั้งที่ 330 (11/2567) เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2567 มีมติเห็นชอบให้สำนักงานสภามหาวิทยาลัย มีฐานะเทียบเท่าคณะ เพื่อให้มีการทำงานที่มีคล่องตัวและมีอิสระ สามารถเชื่อมโยงกับฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
และคณะกรรมการธรรมาภิบาลและจริยธรรม โดยกำหนดให้มีการประชุมและทำงานร่วมกันของคณะกรรมการทั้ง
3 ชุด ตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา โดยให้สำนักงานสภามหาวิทยาลัย แบ่งส่วนราชการเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้
1) สำนักงานเลขานุการ
มีภาระหน้าที่ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทั่วไปของสำนักงานสภามหาวิทยาลัยทั้งด้านธุรการ การเงิน พัสดุ บุคลากร งบประมาณ แผนงานต่างๆ รวมถึงภารกิจสนับสนุนการ นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบเกี่ยวกับงานเลขานุการกิจของคณะกรรมการธรรมาภิบาลและจริยธรรม ตลอดจนการจัดทำการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA : Integrity and Transparency Assessment) และเป็นผู้ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการธรรมาภิบาลและจริยธรรม กำหนดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด รวมทั้งการอื่นใด ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภามหาวิทยาลัย สำนักงานเลขานุการ เป็นหน่วยงานที่มีผู้บริหารที่มีผู้บริหารระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าประกอบด้วย 2 งาน คือ 1) งานอำนวยการ 2) งานธรรมาภิบาล
2) สำนักงานบริหารกิจการสภามหาวิทยาลัย
มีภาระหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัยในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประชุม การสรรหาและแต่งตั้งการติดตามประเมินผลผู้บริหาร รวมทั้งการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากสภามหาวิทยาลัย สำนักงานบริหารกิจการสภามหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่มีผู้บริหารระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าประกอบด้วย 2 งาน ได้แก่ งานประชุมสภามหาวิทยาลัย และงานสรรหา ติดตามและประเมินผล